ยอดคุณแม่แน่กว่าครู
ผู้เขียน Yin Jianli (หยิ่นเจี้ยนลี่) ผู้แปล รำพรรณ รักศรีอักษร
สำนักพิมพ์ นานมี
คำนิยม
ตอบทุกคำถามของคุณพ่อคุณแม่เกี่ยวกับการเลี้ยงดูลูก พ่อแม่ที่มีแนวคิดการเลี้ยงลูกต่างกัน ส่งผลให้ชะตากรรมของลูกต่างกัน "ราวฟ้ากับดิน"
การดูแลบ่มเพาะในครอบครัวที่มีคุณภาพเป็นก้าวย่างแรกแห่งความสำเร็จของลูกรัก
ประวัติผู้เขียน
หยิ่นเจี้ยนลี่ เป็นคุณแม่และครูผู้มีประสบการณ์ เป็นผู้เชียวชาญด้านการอบรมเด็ก ได้รับการยอมรับอย่างมากในจีน ไต้หวัน และเกาหลี ปัจจุบัน ทำงานวิจัยและให้คำปรึกษาด้านการอบรมในครอบครัวและจิตวิทยาเด็ก
ความคิดเห็น
แม้เราจะเห็นเด็กจีนแสนเก่งและโดดเด่นมากๆในทุกด้านไม่ว่าจะเป็นกีฬา วิชาการ หรือดนตรี การแสดง ถ้าแข่งกันเวทีอาเซียน หรือระดับโลก เด็กจีนมักเป็นตัวเต็งเสมอ แต่ทราบมั้ยค่ะว่า ปัจจุบัน ลูกมังกรชาวจีนกว่า 20 ล้านคนกลายเป็นเด็กสมาธิสั้น พ่อแม่และเด็กๆอีกหลายครอบครัวนับไม่ถ้วนประสบปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ในครอบครัว ความเก่งและความสามารถต่างๆของเด็กแลกมากับหลายๆอย่างที่สร้างปมและความทุกข์ในชีวิตให้กับเด็ก จากความหวังดีของพ่อแม่ หนึ่งตัวอย่างที่ผู้เขียนยกขึ้นมา เป็นเด็กที่เป็นแชมป์ชนะการประกวดการแข่งขันเปียโนเยาวชนนานาชาติ ซึ่งมีพรสวรรค์และผลงานยอดเยี่ยมมาก ให้สัมภาษณ์ว่า เธอได้ดีเพราะโดนพ่อตบหน้า 400 ครั้งใน3 ปี ชีวิตของเด็กคนหนึ่งไม่ได้มีเพียงเพื่อแค่การแข่งขัน ลองคิดดูว่าเมื่อเด็กคนนี้โตขึ้นมากับความรุนแรงเมื่อเป็นผู้ใหญ่จะเป็นอย่างไร
ปัญหาต่างๆ ที่ผู้เขียนหยิบยกมานำเสนอในหนังสือ ก็เป็นปัญหา classic ของครอบครัวชาวเอเชีย ซึ่งไม่นานแปลกใจเลยว่าทำไมผู้เขียนถึงได้ดังมากในประเทศพี่ใหญ่ของเอเชีย อย่างจีน เกาหลีและไต้หวัน สำหรับเด็กไทยก็เช่นกัน ทั้งแนวความคิดในการเลี้ยงดูของพ่อแม่ ระบบการเรียนการสอน และครูชาวไทย ที่ยังยึดติดความคิดของผู้ใหญ่เป็นหลัก ไม่เข้าใจธรรมชาติของเด็กที่มีความแตกต่างกัน
เวลาอ่านไป ก็ได้บรรยากาศเหมือนมีกำลังคุยกับเพื่อนคนจีนไปสมัยอยู่เมืองจีน เพื่อนสนิทที่มีลูกแล้ว เค้าบำรุงบำเรอลูกมาก ของทุกอย่างต้องเป็นของดีของนำเข้า อะไรที่เค้าบำรุงสมองลูก (แต่พิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ได้จริงเปล่าไม่รู้) แพงแค่ไหนก็ซื้อให้ลูกกิน ให้ลูกใช้ เคยดูรายการประกวดร้องเพลง เด็กหญิงคนหนึ่งเล่นดนตรีร้องเพลงเพราะมาก เด็กคนนี้ซ้อมเปียโนทั้งวันทั้งคืนหลังจากพ่อแม่ซึ่งเป็นกรรมกรใช้เงินเก็บเกือบทั้งชีวิตซื้อเปียโนให้ลูกเพราะลูกอยากได้ ยิ่งนโยบายลูกคนเดียว เด็กจีนเลยยิ่งกลายเป็นจุดศูนย์กลางของทั้งครอบครัว นอกจากความรักและความทุ่มเทที่เด็กได้แล้ว พ่อแม่ปู่ย่าตายายยังแถมความคาดหวังและความกดดันมาด้วยโดยไม่รู้ตัว ไม่ต่างอะไรกับเด็กไทยค่ะ มันยากสำหรับพ่อแม่ที่จะหยุดการคาดหวังและกำหนดบทบาทของลูก เพราะพ่อแม่เองถูกเลี้ยงดูมาด้วยวิธีเดียวกัน มันคงดีไม่น้อย ถ้าพ่อแม่ยุคใหม่ได้ศึกษาและเข้าใจแนวทางในการเลี้ยงลูกที่เน้นการปรับมุมมองและทัศนคติของพ่อแม่ แทนการไปเปลี่ยนลูกหรือปรับแต่งลูกให้เป็นเหมือนเรา หนังสือเล่มนี้เป็นอีกเล่มค่ะที่ช่วยคุณได้ไม่มากก็น้อยค่ะ
แนวคิดที่ผู้เขียนนำเสนอส่วนใหญ่ได้อิทธิพลมาจากมอนเตสซอรี ประกอบกับประสบการณ์ส่วนตัวของเธอเองและลูกสาว และปัญหาของอีกหลายครอบครัวที่เข้ามาปรึกษา ปัญหาที่เกิดขึ้นที่โรงเรียน รวมไปถึงจากคนรอบข้างเด็ก อย่างเรื่องเล็กๆที่ผู้ใหญ่เห็นว่า ไม่เห็นมีอะไร แต่สำหรับเด็กๆ อาจจะเป็นเรื่องใหญ่ที่ทำให้เค้าปั่นป่วนและทุกข์ใจได้ เช่น เพื่อนพ่อชอบพูดหลอกให้กลัว หรือครูศิลปะให้คะแนนผลงานเด็กต่ำเพราะระบายสีน้ำตามจินตนาการ ไม่เหมือนของจริง แบบน้ำต้องเป็นสีฟ้า ต้นไม้ต้องเป็นสีเขียว เป็นต้น
ส่วนตัวชอบเรื่องสมาธิสั้นมากๆ อยากให้ทุกคนได้อ่านบทนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณพ่อคุณแม่ที่สงสัยว่าลูกเป็นสมาธิสั้น หรือที่ลูกถูกวินิจฉัยไปแล้วว่าเป็น ผู้เขียนยืนยันว่าการวินิจฉัยและทางแก้ปัญหาโดยการใช้ยาของหมออาจจะไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุด เคยรับฟังจากเพื่อนผู้ปกครองด้วยกันว่า เดี๋ยวนี้ หมอชอบจ่ายยาให้เด็กเพื่อให้นิ่ง โดยที่ไม่ได้คิดจะช่วยเหลือในทางอื่นๆเลย ปัญหาเด็กสมาธิสั้น ต้องย้อนกลับไปดูการเลี้ยงดูของพ่อแม่และสิ่งแวดล้อมรอบตัวลูกว่าเป็นอย่างไร พ่อแม่ต้องช่างสังเกตและให้เวลากับลูกเยอะขึ้น การฝากความหวังในการแก้ปัญหาของลูกไว้กับครูที่ต้องดูแลเด็กอีกนับสามสิบสี่สิบกว่าคนในห้องเรียนไม่ใช่สิ่งที่พ่อแม่แม้แต่จะคิดเลย แต่จริงๆแล้วควรเป็นพ่อแม่เป็นหลัก ร่วมมือกับครูและผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันแก้ปัญหาไปด้วยกัน
นอกจากฝากความหวังไว้กับโรงเรียนไม่ค่อยได้แล้ว จริงๆ ผู้เขียนเข้าใจและเคารพการทำงานของคุณครูและโรงเรียนนะคะ โรงเรียนส่วนใหญ่เป็นแนววิชาการที่ครูยังเป็นใหญ่ในทุกเรื่อง ด้วยความเข้มข้นของการแข่งขันสูงมากเกือบจะทุกเรื่องในสังคมจีน ตั้งแต่เข้ามหาวิทยาลัย จนกระทั่งสมัครงาน ทำให้พ่อแม่มุ่งให้เด็กเรียนๆๆๆ เด็กจีนก็เรียนจริงๆนะ ว่างก็อยู่ห้องสมุดอ่านหนังสือ ผู้เขียนมองว่าเมื่อเปลี่ยนกระแสหลักไม่ได้ พ่อแม่ก็ควรเป็นหลักให้ลูก รับฟังและช่วยประคับประคองลูกเพื่อให้เกิดความสุขในการเรียนที่โรงเรียน การบ้านเป็นปัญหาสุดยอดฮิตเลย ชอบไอเดียที่ผู้เขียนเลือกที่จะช่วยลูกทำการบ้านในส่วนที่คิดว่าไม่ได้สร้างประโยชน์ให้ลูก อย่างเช่นช่วยคัดคำศัพท์ที่ลูกจำได้แล้ว เพื่อให้ลูกมีเวลาไปทำอย่างอื่นๆ ทั้งนี้ ผู้เขียนได้เขียนข้อดีและข้อเสียของวิธีนี้ไว้ด้วย เพราะที่ผู้เขียนทำแล้วเกิดผลดีเนื่องจากผู้เขียนใกล้ชิดลูกมาก ทำให้เข้าใจธรรมชาติของลูก จึงสามารถตกลงกับลูกในการช่วยเหลือเรื่องนั้นๆได้ขอกจากนี้ ผู้เขียนจะช่วยเฉพาะสิ่งที่ไม่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ของลูกจริงๆ จึงมิใช่การทำเพื่อเข้าข้างลูกจนเกินไป
ความคิดเรื่องการให้การบ้าน หรืองานสำหรับเด็กทำตามความสามารถของเด็กนั้น พบได้ตามโรงเรียนแนวทางเลือก และโฮมสคูล ซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับพ่อแม่ในเมืองไทย โดยเฉพาะในกรุงเทพ สำหรับแนวการศึกษาทางเลือกในจีนยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก เท่าที่ทราบโรงเรียนแนววอล์ฟดอลเริ่มมีที่แรกที่ Chengdu ในปี 2004 เพราะต้านกระแสการแข่งขันทางสังคมไม่ค่อยได้ ปัจจุบันกำลังเริ่มมีคนสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ ได้ยินว่ากำลังเริ่มมีเปิดในปักกิ่ง
ผู้เขียนยังช่วยไขข้อข้องใจและแนวทางปฏิบัติตัวของพ่อแม่ในปัญหาต่างๆ เช่น ทำไมลูกชอบแกล้ง ทำไมลูกชอบโกหก ทำไมเด็กตั้งใจเรียนแต่ผลสอบไม่ดี ทำไมลูกไม่ชอบแก้ไขปัญหา ทำไมเด็กไม่สนใจเรียน ทำอย่างไรเมื่อลูกถูกแกล้ง ทำอย่างไรเมื่อลูกติดเกม ฯลฯ รู้มั้ยค่ะ ว่าทุกอย่างมาจากพ่อแม่หมดเลยค่ะ ยอดคุณพ่อคุณแม่เท่านั้นที่จะช่วยลูกได้
ยังอีกหลายเรื่องน่าสนใจที่ยอดคุณแม่ควรจะพึ่งสังวรณ์ไว้ ส่วนตัวเอง อ่านแล้วก็อึ้งเหมือนกันเมื่อย้อนดูตัวเอง เช่น เรื่องการสนับสนุนให้ลูกอ่านหนังสือ ผู้เขียนยกตัวอย่างครอบครัวหนึ่งซึ่งคุณแม่อ่านหนังสือให้ลูกฟังเป็นประจำ แต่ดันเลือกแต่เรื่องที่ตัวเองสนใจโดยไม่ได้ดูความชอบของลูก กลายเป็นการสร้างนิสัยการเกลียดการอ่านของเด็กไปโดยไม่รู้ตัว มารู้อีกที หนังสือชุดราคาแพงที่แม่ซื้อมาก็ถูกคุณลูกตีตราว่า เกลียด และไม่สนใจการอ่านไปเลย แหม ช่างตรงกับชึวิตตอนนี้พอดี เพิ่งซื้อโต๊ะโตะและโต๊ะโตะจังทั้งหลาย เล่มใหม่สุดในชุดนี้มาอ่านให้ฮั่นฟัง อ่านไปสามสี่ตอน ฮั่นขอไม่ไปต่อ บอกว่าน่ากลัว ด้วยเนื้อหาส่วนใหญ่เป็นเรื่องเล่าของคุณคุโรยานากิในช่วงที่เป็นฑูตยูนิเซฟ เดินทางไปแอฟริกา อินเดีย และประเทศต่างๆที่เด็กๆมีปัญหาด้านขาดแคลนน้ำ อาหารและยา ชีวิตเด็กน่าสงสารจริงๆ จนฮั่นเริ่มกลัว เราหยุดการอ่านเท่าที่ลูกบอก เปลี่ยนเป็นหนังสือสนุกๆที่ฮั่นเลือกมาให้อ่านอย่างโดราเอมอนแทน เพื่อให้ฮั่นมีความทรงจำดีๆกับโต๊ะโตะจังสองเล่มแรกแทนละกัน แหมเกือบทำลูกเอียนการอ่านไปแล้ว
สิ่งสำคัญที่ได้จากหนังสือเล่มนี้ก็คือ ไม่ว่าคุณจะเป็นพ่อแม่ประเทศไหน ยุคสมัยใด คุณคือคนที่สอนและเลี้ยงดูลูกเป็นคนดีและเก่งได้ดีที่สุด หากแต่วิธีในการเข้าหาลูกต้องปรับให้เข้ากับลูก เข้ากับธรรมชาติของลูกตามวัย ตามนิสัยใจคอของเด็ก ทำเป็นตัวอย่าง มิใช่ยัดเยียดความคิดของ "ผู้ใหญ่" เป็นหลัก มีคนกล่าวไว้ว่า กาลเวลาผ่านไปเท่าไร เด็กก็ยังคงเป็นเด็กเหมือนเดิม แต่สังคมที่เปลี่ยนไป เกิดจาก ที่ผู้ใหญ่เปลี่ยนแปลง
ระดับความน่ามีครอบครอง
คิดไปคิดมา นอกจากพ่อแม่ที่ควรอ่านหนังสือเล่มนี้แล้ว คงดีไม่น้อยที่คุณครูในเมืองไทยทุกคนได้อ่านหนังสือเล่มนี้ และหนังสือที่ให้ความรู้ในการดูแลเด็กในแนวนี้จริงๆ
ส่วนตัวชอบเรื่องสมาธิสั้นมากๆ อยากให้ทุกคนได้อ่านบทนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณพ่อคุณแม่ที่สงสัยว่าลูกเป็นสมาธิสั้น หรือที่ลูกถูกวินิจฉัยไปแล้วว่าเป็น ผู้เขียนยืนยันว่าการวินิจฉัยและทางแก้ปัญหาโดยการใช้ยาของหมออาจจะไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุด เคยรับฟังจากเพื่อนผู้ปกครองด้วยกันว่า เดี๋ยวนี้ หมอชอบจ่ายยาให้เด็กเพื่อให้นิ่ง โดยที่ไม่ได้คิดจะช่วยเหลือในทางอื่นๆเลย ปัญหาเด็กสมาธิสั้น ต้องย้อนกลับไปดูการเลี้ยงดูของพ่อแม่และสิ่งแวดล้อมรอบตัวลูกว่าเป็นอย่างไร พ่อแม่ต้องช่างสังเกตและให้เวลากับลูกเยอะขึ้น การฝากความหวังในการแก้ปัญหาของลูกไว้กับครูที่ต้องดูแลเด็กอีกนับสามสิบสี่สิบกว่าคนในห้องเรียนไม่ใช่สิ่งที่พ่อแม่แม้แต่จะคิดเลย แต่จริงๆแล้วควรเป็นพ่อแม่เป็นหลัก ร่วมมือกับครูและผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันแก้ปัญหาไปด้วยกัน
นอกจากฝากความหวังไว้กับโรงเรียนไม่ค่อยได้แล้ว จริงๆ ผู้เขียนเข้าใจและเคารพการทำงานของคุณครูและโรงเรียนนะคะ โรงเรียนส่วนใหญ่เป็นแนววิชาการที่ครูยังเป็นใหญ่ในทุกเรื่อง ด้วยความเข้มข้นของการแข่งขันสูงมากเกือบจะทุกเรื่องในสังคมจีน ตั้งแต่เข้ามหาวิทยาลัย จนกระทั่งสมัครงาน ทำให้พ่อแม่มุ่งให้เด็กเรียนๆๆๆ เด็กจีนก็เรียนจริงๆนะ ว่างก็อยู่ห้องสมุดอ่านหนังสือ ผู้เขียนมองว่าเมื่อเปลี่ยนกระแสหลักไม่ได้ พ่อแม่ก็ควรเป็นหลักให้ลูก รับฟังและช่วยประคับประคองลูกเพื่อให้เกิดความสุขในการเรียนที่โรงเรียน การบ้านเป็นปัญหาสุดยอดฮิตเลย ชอบไอเดียที่ผู้เขียนเลือกที่จะช่วยลูกทำการบ้านในส่วนที่คิดว่าไม่ได้สร้างประโยชน์ให้ลูก อย่างเช่นช่วยคัดคำศัพท์ที่ลูกจำได้แล้ว เพื่อให้ลูกมีเวลาไปทำอย่างอื่นๆ ทั้งนี้ ผู้เขียนได้เขียนข้อดีและข้อเสียของวิธีนี้ไว้ด้วย เพราะที่ผู้เขียนทำแล้วเกิดผลดีเนื่องจากผู้เขียนใกล้ชิดลูกมาก ทำให้เข้าใจธรรมชาติของลูก จึงสามารถตกลงกับลูกในการช่วยเหลือเรื่องนั้นๆได้ขอกจากนี้ ผู้เขียนจะช่วยเฉพาะสิ่งที่ไม่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ของลูกจริงๆ จึงมิใช่การทำเพื่อเข้าข้างลูกจนเกินไป
ความคิดเรื่องการให้การบ้าน หรืองานสำหรับเด็กทำตามความสามารถของเด็กนั้น พบได้ตามโรงเรียนแนวทางเลือก และโฮมสคูล ซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับพ่อแม่ในเมืองไทย โดยเฉพาะในกรุงเทพ สำหรับแนวการศึกษาทางเลือกในจีนยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก เท่าที่ทราบโรงเรียนแนววอล์ฟดอลเริ่มมีที่แรกที่ Chengdu ในปี 2004 เพราะต้านกระแสการแข่งขันทางสังคมไม่ค่อยได้ ปัจจุบันกำลังเริ่มมีคนสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ ได้ยินว่ากำลังเริ่มมีเปิดในปักกิ่ง
ผู้เขียนยังช่วยไขข้อข้องใจและแนวทางปฏิบัติตัวของพ่อแม่ในปัญหาต่างๆ เช่น ทำไมลูกชอบแกล้ง ทำไมลูกชอบโกหก ทำไมเด็กตั้งใจเรียนแต่ผลสอบไม่ดี ทำไมลูกไม่ชอบแก้ไขปัญหา ทำไมเด็กไม่สนใจเรียน ทำอย่างไรเมื่อลูกถูกแกล้ง ทำอย่างไรเมื่อลูกติดเกม ฯลฯ รู้มั้ยค่ะ ว่าทุกอย่างมาจากพ่อแม่หมดเลยค่ะ ยอดคุณพ่อคุณแม่เท่านั้นที่จะช่วยลูกได้
ยังอีกหลายเรื่องน่าสนใจที่ยอดคุณแม่ควรจะพึ่งสังวรณ์ไว้ ส่วนตัวเอง อ่านแล้วก็อึ้งเหมือนกันเมื่อย้อนดูตัวเอง เช่น เรื่องการสนับสนุนให้ลูกอ่านหนังสือ ผู้เขียนยกตัวอย่างครอบครัวหนึ่งซึ่งคุณแม่อ่านหนังสือให้ลูกฟังเป็นประจำ แต่ดันเลือกแต่เรื่องที่ตัวเองสนใจโดยไม่ได้ดูความชอบของลูก กลายเป็นการสร้างนิสัยการเกลียดการอ่านของเด็กไปโดยไม่รู้ตัว มารู้อีกที หนังสือชุดราคาแพงที่แม่ซื้อมาก็ถูกคุณลูกตีตราว่า เกลียด และไม่สนใจการอ่านไปเลย แหม ช่างตรงกับชึวิตตอนนี้พอดี เพิ่งซื้อโต๊ะโตะและโต๊ะโตะจังทั้งหลาย เล่มใหม่สุดในชุดนี้มาอ่านให้ฮั่นฟัง อ่านไปสามสี่ตอน ฮั่นขอไม่ไปต่อ บอกว่าน่ากลัว ด้วยเนื้อหาส่วนใหญ่เป็นเรื่องเล่าของคุณคุโรยานากิในช่วงที่เป็นฑูตยูนิเซฟ เดินทางไปแอฟริกา อินเดีย และประเทศต่างๆที่เด็กๆมีปัญหาด้านขาดแคลนน้ำ อาหารและยา ชีวิตเด็กน่าสงสารจริงๆ จนฮั่นเริ่มกลัว เราหยุดการอ่านเท่าที่ลูกบอก เปลี่ยนเป็นหนังสือสนุกๆที่ฮั่นเลือกมาให้อ่านอย่างโดราเอมอนแทน เพื่อให้ฮั่นมีความทรงจำดีๆกับโต๊ะโตะจังสองเล่มแรกแทนละกัน แหมเกือบทำลูกเอียนการอ่านไปแล้ว
สิ่งสำคัญที่ได้จากหนังสือเล่มนี้ก็คือ ไม่ว่าคุณจะเป็นพ่อแม่ประเทศไหน ยุคสมัยใด คุณคือคนที่สอนและเลี้ยงดูลูกเป็นคนดีและเก่งได้ดีที่สุด หากแต่วิธีในการเข้าหาลูกต้องปรับให้เข้ากับลูก เข้ากับธรรมชาติของลูกตามวัย ตามนิสัยใจคอของเด็ก ทำเป็นตัวอย่าง มิใช่ยัดเยียดความคิดของ "ผู้ใหญ่" เป็นหลัก มีคนกล่าวไว้ว่า กาลเวลาผ่านไปเท่าไร เด็กก็ยังคงเป็นเด็กเหมือนเดิม แต่สังคมที่เปลี่ยนไป เกิดจาก ที่ผู้ใหญ่เปลี่ยนแปลง
ระดับความน่ามีครอบครอง
คิดไปคิดมา นอกจากพ่อแม่ที่ควรอ่านหนังสือเล่มนี้แล้ว คงดีไม่น้อยที่คุณครูในเมืองไทยทุกคนได้อ่านหนังสือเล่มนี้ และหนังสือที่ให้ความรู้ในการดูแลเด็กในแนวนี้จริงๆ
ข้อมูลหนังสืออื่นๆ
สารบัญ
บทที่ 1 แม่ยิ่งใหญ่กว่าครู
- เรื่องที่ 1 หน้าที่อันยิ่งใหญ่ของแม่
- เรื่องที่ 2 เด็กทุกคนมีของชอบของตน
- เรื่องที่ 3 เรื่องเล็กก็คือเรื่องใหญ่
บทที่ 2 ความสำเร็จของลูกอยู่ที่การเปลี่ยนแปลงของพ่อแม่
- เรื่องที่ 1 อยากให้ลูกเปลี่ยนแปลง พ่อแม่ต้องเปลี่ยนแปลงก่อน
- เรื่องที่ 2 การอบรมมโนธรรม
บทที่ 3 ทัศนคติที่พ่อแม่ควรยึดถือ
- เรื่องที่ 1 ให้เด็กกล้าพูดความคิดของตัวเอง
- เรื่องที่ 2 ฝึกนิสัยรักการเรียน
บทที่ 4 สนุกกับการอ่านชีวิตมีสีสัน
- เรื่องที่ 1 เด็กที่ได้รับพรจากคฑาวิเศษจะฉลาดและมีความสุข
- เรื่องที่ 2 ทางลัดในการเขียนให้เก่ง