"เล่นอันนี้ดีกว่าตรงนี้มันยาก" "ปีนตรงนี้เตี้ยหน่อย" "เดี๋ยวแม่ดึงตัวหนูให้"
รู้มั้ยค่ะ บางครั้งความหวังดีของเรา อาจจะไปปิดโอกาสได้เล่นได้เรียนรู้จังหวะการเคลื่อนไหวของลูกค่ะ
เด็กๆในวัยอนุบาลเป็นวัยกำลังพัฒนาด้านร่างกาย ใช้ฐานกายเป็นหลัก การได้เล่น ออกกำลังกาย หรือปีนป่ายบนเครื่องเล่นถือเป็นส่วนเสริมประสาทสัมผัสด้านการเคลื่อนไหวได้เป็นอย่างดี ที่หาไม่ได้ที่บ้าน เครื่องเล่นกลางแจ้งตามโรงเรียนส่วนใหญ่จะออกแบบมาให้เด็กได้ใช้ทักษะทางร่างกาย กล้ามเนื้อมัดใหญ่ และการวางแผนการเคลื่อนไหวว่าจะว่ามือ หรือเท้าอย่างไรให้ไม่ตก หรือปีนขึ้นไปได้อย่างปลอดภัย
หากคุณพ่อคุณแม่ยังเป็นห่วงหรือกังวล ก็ควรสำรวจสถานที่เล่น และเครื่องเล่นว่าแข็งแรงดีมั้ย และเหมาะกับวัยของลูกเราหรือมั้ยเป็นอย่างแรกค่ะ ถ้าโอเคก็ควรปล่อยให้ลูกได้เล่นอย่างอิสระค่ะ
เมื่อคุณพ่อคุณแม่พยายามเข้าช่วยดึง จูงหรือลากเด็กในระหว่างเล่น ทำให้เด็กไม่ได้ลองคิดหรือทดลองว่าควรเคลื่อนที่อย่างไร ในการครั้งเล่นต่อไป เด็กๆอาจจะไม่มั่นใจ หรือพลาดได้ง่าย คุณพ่อคุณแม่ควรช่วยดูและเป็นกำลังใจอยู่ใกล้ๆอย่างใกล้ชิด และให้ความช่วยเหลือในเวลาที่ลูกทำไม่ได้จริงๆ หรือในช่วงที่อาจจะเกิดอันตรายกับลูกค่ะ วิธีนี้จะไม่ไปขัดจังหวะการเล่นของลูก และยังช่วยให้เด็กๆได้ทดลองร่างกายได้อย่างเต็มทีค่ะ
เมื่อเด็กๆทำได้ดีขึ้น ควรชี้ชวนให้ลูกลองเล่นที่ยาก หรือท้าทายขึ้นอีกขั้นค่ะ โดยคุณพ่อคุณแม่ต้องดูแลใกล้ชิดมากขึ้น ทำใจสบายอย่ากังวลนะคะ ลูกรับรู้ความรู้สึกเราได้ค่ะ เมื่อพ่อแม่เป็นใจ ลูกก็จะกล้าที่จะเล่นมากขึ้น เมื่อทำได้ ควรให้คำชม หากลูกไม่กล้าหรือทำไม่สำเร็จ ก็ให้กำลังใจไว้ลองใหม่ค่ะ
สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกที่ซุกซนมาก ไม่กลัวอะไรเลย เล่นลุยได้ทุกที ส่วนใหญ่จะเป็นเด็กที่มีร่างกายแข็งแรงและมีทักษะการเคลื่อนไหวดี การดูแลควรจะเป็นอีกแบบค่ะ ลองให้ลูกได้เล่นอะไรที่ช้าลง ใช้แรงมากขึ้น อยู่ที่นิ่งๆมากขึ้น เช่น การโหนบาร์ หรือปีนเชือก ที่สามารถจำกัดวงการเล่นไม่โลดโผนมาก เด็กพวกนี้จะชอบเกมที่ท้าทายขึ้น คุณพ่อคุณแม่สามารถเพิ่มเงื่อนไขในการเล่น แต่ต้องอยู่ในพื้นฐานของความปลอดภัย และดูแลใกล้ชิดค่ะ
ลองทำดู ไม่ยากค่ะ
แม่จุ๊บ DIY4kid
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น