8 ต.ค. 2014
เคยตั้งคำถามกับตัวเองบ้างมั้ยค่ะว่า ทำไมลูกฉันดูเยอะ เลือกมากไปทุกสิ่ง ป้ายเสื้อต้องตัดออก ให้ลองชิมลองกินของใหม่ก็ปฏิเสธ เดินแป็บเดียวก็หกล้ม หรือบางครั้งก็กลัวไม่กล้าจับของที่ไม่เคยเห็นมาก่อน
แต่ก่อนคิดว่า คงเพราะลูกเราขี้กลัว หรือขี้รำคาญ เดียวก็หายไปเอง ไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไร ต่อพอฮั่นเริ่มเข้ามาเรียนที่รุ่งอรุณ ก็เริ่มได้ยินเกี่ยวกับเรื่อง sensory มากขึ้น ตอน อ.1 โดนคุณครูทักว่าฮั่นเลือกกิน ไม่ยอมอะไรแปลก เพราะไม่ค่อยได้ใช้ sensory ในปาก ตอนนั้นก็ยังไม่ค่อยเข้าใจว่ามันเกี่ยวกันยังไง คุณครูแนะนำให้นวดกระพุ้งแก้ม หรือลำคอจะช่วย ก็ทำตาม คิดไปว่าก็คงเป็นปัญหาด้านการสัมผัสรับรู้จาก sense ทั้ง 5 คือ รับรส มองเห็น ได้ยิน ดมกลิ่น และสัมผัส อะไรประมาณนั้น
จนกระทั่ง ที่โรงเรียนส่งจดหมายมาว่า ห้องเล่นลูกรัก หรือที่เรียกติดปากว่า ห้องOT (Occupational Therapy) กับกลุ่มพ่อแม่อาสากำลังจะจัดอบรมเรื่อง "เข้าใจลูก พัฒนาลูกด้วย Sensory Integration:SI" ตัดสินใจลงเรียนโดยไม่คิดอะไรมาก หวังว่าคงได้อะไรกลับมาปรับใช้กับฮั่น และธันธันที่กำลังเริ่มโต เริ่มอยากรู้อยากเห็น
การอบรมครั้งนี้ มีอ.ดร.สรินยา ศรีเพชราวุธ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้าน SI และเป็นผู้ช่วยก่อตั้งห้อง OT ที่โรงเรียน นอกจากนี้ ท่านอาจารย์ยังเป็นหนึ่งในสองท่านที่ Certified การประเมินด้าน SI แบบสากลแรกของประเทศไทย ทั้งอาจารย์และทีมผู้ช่วยน่ารักมาก อธิบายและแชร์ประสบการณ์ตรงในการทำงานห้อง OT
ก่อนจะเข้าใจว่า SI ว่าคืออะไร มีความสำคัญอย่างไรกับการใช้ชีวิต อาจารย์ได้เปิดโลกอีกโลกให้เราได้รับรู้ว่า ประสาทความรู้สึก มันไม่ได้มีแค่ 5 นะที่เรารู้จักกันดีอย่างการรับรู้ผ่าน การมองเห็น (Visual) การได้ยิน (Auditory) การรับรส (Gustatory) การดมกลิ่น (Olfactory) และการสัมผัส (Tactile) มันยังมีอีก 2 Senses ที่สำคัญมาก นั้นก็คือ
>ระบบประสาทรับรู้การเคลื่อนไหวและสมดุล (Vestibular sense or Movement and Balance
sense) ซึ่งมีส่วนที่รับรู้ความรู้สึกผ่านระบบประสาทที่อยู่ในหูชั้นใน ทำให้เรารักษาสมดุลเมื่อร่างกายเปลี่ยนท่าทาง เคลื่อนไหวอย่างนุ่มนวล
>ระบบประสาทรับรู้ผ่านกล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อ(Proprioceptive sense or Body Position sense) มีส่วนรับรู้ตำแหน่งและการเคลื่อนไหวร่างกาย กะระยะ ลงน้ำหนัก การทำอะไรได้โดยไม่ต้องมอง เช่น ทำมือแมงมุมไปเรื่อยๆ จนเหนือหัวตัวเอง
เขียนหรือพิมพ์งานโดยไม่ต้องมอง
7 Senses
credit: makingsns.com
ลองคิดภาพเวลา เรากำลังเดินถือของอยู่ในห้าง ใส่สนสูงเดินด้วย แล้วเดินผ่านกองเสื้อผ้าลดราคา เราจะยังคงเดินต่อไป แต่เลี้ยวมองจนสุดคอเอียง เหตุการณ์นี้ เราได้ใช้ประสาทการมอง ประสานกับ ประสาทการเคลื่อนไหวและสมดุล ทำให้เราสามารถเดินโดยไม่มองข้างหน้าได้ นอกจากนี้ ระบบ Proprioceptive ยังช่วยให้การลงน้ำหนักขาที่เลี้ยงตัวอยู่บนสนสูงได้อย่างไม่ล้ม
นี่แหละค่ะ คือ SI ร่างกายรับรู้เหตุการณ์หรือ input ผ่านระบบประสาทรับรู้ทั้ง 7 ส่งผ่านให้สมองประมวลและสั่งการร่างกาย ได้เป็น output ออกมา เป็นการเคลื่อนไหว พฤติกรรม และการแสดงออกต่างๆ
อธิบายแบบมีหลักการหน่อย SI คือ กระบวนการที่สมองประมวลและจัดการกับสิ่งเร้าหรือความรู้สึกที่เราได้รับผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 7 จากนั้น สมองจะสั่งการ และตอบสนองออกมาในรูปของพฤติกรรม หรือการเคลื่อนไหว
หรือการแสดงความรู้สึก ซึ่งหากระบบประสาทรับรู้ทำงานได้ปกติและมีประสิทธิภาพ สมองรับรู้และตอบสนองได้ดี เด็กจะสามารถใช้ชีวิตประจำวัน และมีทักษะในการใช้ร่างกาย เคลื่อนไหว และแสดงอารมณ์ได้อย่างเหมาะสมและมั่นคง เป็นพื้นฐานสำคัญต่อการเรียนรู้ และพัฒนาความสามารถในด้านต่างๆ ในทางตรงกันข้าม
หากระบบประสาทรับความรู้ส่วนไดส่วนหนึ่งทำงานไม่เหมาะสม หรือไม่เต็มประสิทธิภาพ สมองได้รับ input ที่มากไปหรือน้อยไป
การตีความและส่งผลกระทบต่อให้เกิดปัญหาด้านพฤติกรรมและการเคลื่อนไหวนั้นเอง ว่าด้วย Concept โดยรวม
จากนั้น อาจารย์อธิบาย
SI ที่สำคัญของเด็ก 3 ระบบประสาทความรู้สึก ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของเด็กในการเคลื่อนไหวและเรียนรู้ นั้นก็คือ ระบบประสาทสัมผัส หรือ "กายสัมผัส (Tactile)" "Proprioceptive" และ "Vestibular" ซึ่งในกรณีที่มีการรับรู้อย่างไม่เหมาะสมในระบบใดระบบหนึ่ง หรือรวมกันหลายระบบ
ก็จะทำให้ลูกของเรามีปฏิกิริยา หรือตอบสนองสิ่งเร้าในระดับที่ไม่เหมาะสม อาจจะรับรู้ไว (Hypersensitive ) หรือช้า/ต่ำกว่าปกติ (Hypo-sensitive)
ระบบ
พฤติกรรมบ่งชี้
ผลกระทบ
กายสัมผัส Tactile
ไวต่อการสัมผัส
- หลีกเลี่ยงเสื้อผ้าบางชนิด
- หลีกเลี่ยงการกอด หรือสัมผัสตัวและใบหน้า
- ไม่ขอบการอาบน้ำ สระผม ตัดเล็บ ตัดผม
- ไม่ขอบสัมผัสวัสดุพื้นผิวที่ไม่คุ้นเคย
- กังวลเวลาคนเข้ามาใกล้
- บกพร่องในความสามารถรับรู้รูปทรงโดยการสัมผัส หรือแยกแยะสิ่งของที่แตกต่าง
- ทักษะการใช้มือ หรือร่างกายไม่ดี
- ปัญหาการคิดและวางแผนการเคลื่อนไหว
Vestibular
- หกล้มบ่อย
- นั่งตัวตรงได้ไม่นาน
- กังวลหรือกลัวเวลาเปลี่ยนท่าทางร่างกาย หรือเปลี่ยนสมดุลร่างกาย
- ถ้าเป็นพวกที่รับรู้ได้ช้า ก็จะแสวงหาสิ่งเร้า เช่น อยู่ไม่นิ่ง เคลื่อนไหวไปมา ชอบเล่นผาดโผน
-ใช้มือสองข้างทำงานรวมกันได้ไม่ดี เช่น ใช้กรรไกร ผูกรองเท้า
-บกพร่องในการประสานสัมพันธ์กันของร่างกายสองด้าน
-ยากลำบากในการรักษาสมดุลร่างกาย
Proprioceptive
system
มีปัญหาคิดและวางแผนการเคลื่อนไหว Dyspraxia
- ใช้เวลานานในการทำกิจวัตรประจำวัน ลำดับหรือรู้จังหวะการเคลื่อนไหว
เช่น ติดกระดุม
- ไม่ชอบกีฬา มีปัญหากล้ามเนื้อมัดใหญ่
- มีปัญหากล้ามเนื้อมัดเล็ก ไม่ชอบเขียน ใช้มือเล่นต่อประกอบ
- ซุ่มซ่าม เจ็บตัวจากการหกล้มและสะดุด
- กะแรงในการใช้มือและร่างกายไม่เป็น
- ปัญหาเคลื่อนไหวหรือปรับท่าทางให้เหมาะสม
หากเด็กๆได้รับการพัฒนา SI อย่างเหมาะสมกับวัยแล้ว ผลที่ได้รับ คือ
-มีสมาธิในการทำงานต่างๆ
-ความสามารถในการจัดการกับสิ่งต่างๆได้
-เกิดความมั่นใจในตนเอง
- มีความมั่นคงทางอารมณ์
-สามารถควบคุมตนเองได้
-ความสามารถทางการเรียน และการคิดเชิงนามธรรมและคิดแบบมีเหตุมีผล
- เกิดความถนัดของร่างกาย
คลิปนี้ช่วยอธิบายเรื่องของ Sensory processing disorder ได้เข้าใจง่ายขึ้น
VIDEO
ที่นี่ ช่วงบ่าย เราได้ลองเล่นกิจกรรมที่ออกแบบเพื่อพัฒนาเรื่อง SI ในแต่ละด้าน มี 3 ฐาน ตามระบบรับความรู้สึกทั้ง 3 ระบบ
ฐานแรกจะเป็นเกมเพื่อเพิ่ม sensory experience ในการเคลื่อนไหว (Obstacle course and activity for enhancing sensory experience
for motor planning) มีผสมผสานเกือบทุก Sense โดยเฉพาะ Proprioceptive กับ Vertibular เหมือนเล่นเกมบันซึเกะ พวกเกมวิบากเลย
เริ่มจากการกระโดดข้ามท่อต่างระดับ
วิธีการเล่นของทุกเกมสามารถพลิกแพลง เพิ่มลดความยากง่ายตามทักษะของเด็ก ควรทำให้ไม่ยากจนเด็กรู้สึกไม่ท้าทาย หรือไม่ง่ายจนเด็กเล่นไม่ผ่าน ควรจะให้กระโดดสองขาคู่ เพื่อให้เด็กได้ใช้แรงขาได้อย่างเหมาะสม สามารถปรับให้ยากเป็นกระโดดขาเดียว หรือกระโดดไปตบมือไป โดยเพิ่มจำนวนตบมือไปเรื่อยๆ
กระโดดเองก็เหนื่อยแล้ว
ตามด้วย ด่าน Mission Impossible (อันนี้ตั้งเอง) เป็นการคิดวางแผนการเคลื่อนไหวร่างกายให้ไม่โดนเส้นเชื่อกที่พันกันเป็นใยแมงมุม
ต่อด้วย ปีนข้าม Big ball ช่วยในเรื่องการปรับการทรงตัว และวางแผนการข้าม
ถ้าช้าไปก็จะข้ามยาก
จากนั้นไป ไม้คานทรงตัว เวลาเล่นแบบง่าย คือเดินต่อเท้าไปเรื่อยๆ ถ้าให้ยากขึ้น
ก็เดินไขว้ขาข้ามคานไป ยากขึ้นไปอีกก็กระโดดข้ามคานสลับไปมา กระโดดขาคู่ ขาเดียวได้ทั้งนั้น
และไปต่อที่ โบวลิ่งคน สมมติตัวเองเป็นลูกโบวลิ่งกลิ้งเองผ่านพื้นสัมผัสต่างๆ จากพรม เพิ่มการรับรู้ด้านการสัมผัส และต้องใช้เกือบทั้งหมดในการวางแผนการกลิ้ง การรักษาสมดุลย์ให้กลิ้งไปหลุดจากแนว เพื่อไปชนพินได้
เกมชักกะเย่อเลี้ยงตัวบนลูกบอล อันนี้ไม่ได้ถ่ายรูปมา ชักกะเย่อนี้สนุกดี สองฝ่ายจะได้นั่งบนลูกบอลรูปถั่วยักษ์แล้วก็ชักกะเย่อกันไป อันนี้มือไม่ว่างแล้วเลยไม่ได้ถ่ายรูปมา
ก่อนย้ายฐาน ได้รวมทั้งกลุ่มเล่นพาราชูท เกมนี้เล่นได้หลายคน วิธีเล่นเยอะ เปลี่ยนแปลงได้ เช่น เลี้ยงลูกบอลให้อยู่ในวง เล่นเรียกชื่อ/สีเปลี่ยนตำแหน่ง พอเรียกปุ๊บ คนที่ถูกเรียกต้องวิ่งมุดด้านล่างเปลี่ยนตำแหน่ง เป็นต้น
ฐานที่ 2 กิจกรรมพัฒนาการสัมผัส (Tactile Play) เปลี่ยนความกลัวให้เป็นกล้า ด้วยกิจกรรมสนุกๆ
เริ่มจากแล่นรถในครีมโกนหนวด การหาสมบัติในบ่อถั่ว และข้าวสารบวกมักกะโรนี และมีดินสังเคราะห์เหนียวๆ (จำชื่อไม่ได้) มีระดับความเหนียวจากน้อยไปมาก สำหรับเสริมสร้างกล้ามเนื้อมัดเล็ก และการสัมผัส ปิดท้ายด้วยกิจกรรมเขียนหลังใบ้คำ
ถังข้าวสารกับถังถั่ว หาลูกแก้วและของเล่น
แล่นรถบนโฟม
ก่อนเปลี่ยนฐาน คุณครูจะให้พ่อๆแม่ๆช่วยกันคิดว่า จะสามารถดัดแปลงของใช้ในบ้านอะไรมาทำเป็นเกม เพื่อพัฒนา Tactile ที่คิดกันได้ก็มี เยลลี่ แป้งผสมน้ำ น้ำแข็ง
ฐานสุดท้าย มี Scooter board games,
Heavy work activities and Animal walks
อันนี้ โหดสุด เราเล่นเองยังเหนื่อยเลย เป็นการประสานหลายๆ sensory เข้าด้วยกัน ต้องมีการวางแผนการเคลื่อนไหวที่ดี รวมทั้งเป็นกิจกรรมเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ซึ่งเป็นพื้นฐานของการเคลื่อนไหวและการใช้ชีวิตประจำวัน
เกม Scooter board ต้องใช้แรงขาในการถีบตัว เพื่อไปหยิบรูปภาพที่หนีบไว้ให้ได้ตามรูปที่บอก อันนี้ประสานประสาทรับรู้หลายส่วนมาก ต้องมีการวางแผนที่ดีและร่างกายที่แข็งแรง เราเล่นเองถีบตัวแถบจะไม่ถึงเส้น แถมดึงรูปไม่หลุดจากราวอีก
เกมจับคู่พิสดาร ผู้เล่นต้องวางเท้าไว้บนพื้นยก ถ้าที่บ้านอาจจะใช้โซฟาหรือเก้าอี้เตี้ยๆได้ แล้วจับคู่รูปภาพที่เหมือนกัน โดยต้องเคลื่อนย้ายตัวไปหยิบแต่ละชิ้นไปวางไว้บนรูปคู่กัน เหนื่อยมากเกร็งท้อง ทำเองจับคู่ได้แค่ สามคู่ ก็ไม่หมดแรงไม่ไหวแล้ว นี่ฉันบกพร่อง SI เหมือนกันหรือนี่
จากนั้นมาลองทำ Animal walks มีท่าปู กับท่าแมงมุมจะคล้ายกับท่าปูแต่ก้นลงมาหน่อย เกร็งท้องมากค่ะ รู้เลยว่า มามี้ไม่ฟิตจริงๆ
ท่าแมวน้ำ อันนี้ยากสุด ทำได้แค่คืบเดียวก็หมอบแล้ว
พอได้ลองแต่ละกิจกรรมแล้ว สำหรับเราซึ่งไม่ได้บกพร่องในเรื่องของ SI ยังรู้สึกว่าบางกิจกรรมก็ไม่ง่ายที่จะทำ แต่ว่าสนุกมาก ในมุมของการพัฒนาเด็ก เด็กจะสนุกมากและได้เสริมสร้าง sensory experienceได้อย่างเพลิดเพลินโดยไม่รู้ตัว แถมได้รู้ถึงความสำคัญในเรื่องความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและร่างกายของเด็ก
ลองคิดย้อนกลับไป ถึงลูกๆของเรา หากเขามีความบกพร่องหรือยากลำบากใน SI เรื่องใดเรื่องหนึ่ง การเล่นทำกิจกรรม หรือดำเนินกิจวัตรประจำวันต่างๆของเขาคงผ่านไปได้อย่างยากเย็นมาก ไม่ต่างกับการเล่นเกมด้านบน แถมถ้าพ่อแม่ไม่เข้าใจ และบังคับหรือให้ลูกทำสิ่งที่เขายังไม่สามารถรับมือหรือจัดการกับสิ่งต่างๆได้อย่างเหมาะสมแล้ว ลูกคงทุกข์ใจและเกิดความกลัวสิ่งนั้นไปนาน ยกตัวอย่างง่าย เช่น ประสบการณ์ไม่ดีเกี่ยวกับการว่ายน้ำ เด็กบางคนไวต่อการสัมผัสน้ำที่หน้ามาก เจอน้ำสาดเข้าหน้าก็ตกใจกลัว เมื่อลงสระเจอเด็กข้างๆตีน้ำใส่ เกิดความกลัว ไม่กล้าเล่นน้ำหรือลงสระไปโดยอัตโนมัติ
อาจารย์อธิบายว่า หากสงสัยว่าลูกมีความบกพร่องในด้านใดด้านหนึ่ง สามารถนำลูกไปประเมินได้ค่ะ ทางห้อง OT จะมีวิธีการวินิจฉัยเป็นเช็คลิสในเบื้องต้น และเมื่อรู้แน่นอนว่าลูกบกพร่องหรือขาด SI ในด้านใด ทีมงานจะออกแบบกิจกรรมหรือให้คำแนะนำในการเสริมสร้างและพัฒนา SI นั้นๆ โดยพื้นฐานในการทำกิจกรรมจะเน้นความสนุก ไม่บังคับหรือกดดัน เนื่องจากจะส่งผลเสียต่อเด็ก จะเน้นให้เพิ่มความเข้มข้นของกิจกรรมที่ละน้อย แต่สม่ำเสมอ เพื่อให้เด็กยอมรับและสมัครใจในการทำค่ะ ทั้งนี้ คุณพ่อคุณแม่เองก็สามารถชวนลูกทำกิจกรรมง่ายได้ เราสามารถดัดแปลงวิธีการเล่นหรือกิจกรรมนั้นๆ เพิ่มหรือลดความยากง่ายให้เหมาะกับลูกของเราค่ะ หรือลอง search หา Occupational Therapy เพื่อหากิจกรรมเพิ่มเติมได้ค่ะ
เมื่อมาอบรม ทำให้เข้าใจแนวการวางการเรียนการสอนของโรงเรียนรุ่งอรุณมากขึ้น เริ่มเชื่อมโยงกับสิ่งที่ครูเคยชี้ให้เราเห็นถึงลูก และมักให้เราสังเกตและประเมินการเดิน วิ่ง เล่น ใช้มือของลูก การใช้ร่างกาย และให้พ่อแม่ ทุกครั้งที่มาวันหยดน้ำ วันก่อนปิดภาคเรียนของเด็กๆ ซึ่งต่างจากโรงเรียนอนุบาลที่อื่นๆที่เน้นวัดผลคะแนนจากการเรียนหรือการสอบเป็นหลัก เรื่องร่างกายเป็นรอง
การเรียนการสอนที่โรงเรียนออกแบบมา ทั้งสนามเด็กเล่น ต้นอรพินที่ให้เด็กปีนปาย สนามทราย และการใช้เครื่องครัวหรืออุปกรณ์จริงๆ เช่น หม้อ กระทะ เพื่อให้เด็กได้รู้น้ำหนักที่แท้จริงของสิ่งของและสามารถเรียนรู้และจัดการกล้ามเนื้อ กะแรงในการใช้ได้จริงๆ แทนที่จะเล่นของเล่นพลาสติก นอกจากนี้ กิจกรรมการเรียนรู้ อยู่เป็น ของเด็กอนุบาล เน้นเพิ่มทักษะร่างกายผ่านการดำเนินชีวิตในกิจวัตรประจำวันอย่างง่ายๆ นอกจากจะสร้างเสริมประสบการณ์ ความรับผิดชอบแล้ว ที่สำคัญเพื่อเปิดโอกาสให้ลูกได้ใช้ร่างกายอย่างเหมาะสม ซึ่งเด็กๆขาดมากเมื่ออยู่ในบ้านที่มีคนรับใช้ หรือคนคอยช่วยเหลือในทุกเรื่องในบ้าน
ได้ความรู้มากมาย ถึงเวลาเราต้องกลับไปสังเกตลูกให้มากขึ้น เปิดโอกาสให้ลูกได้สัมผัส Sensory experience เพิ่มขึ้น กิจกรรมมากมายผุดขึ้นมาในหัวเต็มไปหมด อยากพาลูกเล่นแล้ว