วันอาทิตย์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2557

มาถูกทางแล้วกับการพัฒนาความจำผ่านการเล่น



ก่อนนอนอ่านหนังสือเล่มหนึ่งแล้วรู้สึกว่าแนวทางการสอนของเราในแต่ละการทดลองเป็นไปตามแนวทางที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำ การฝึกเด็กเล็กผ่านการเล่นและลงมือทำจริงด้วยประสาทสัมผัสรอบด้าน นอกจากสนุก ช่วยให้เกิดการเรียนรู้แบบแทรกซึมแล้ว ยังช่วยเรื่องการคิด แสะการจดจำอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ดีกว่าท่องจำ 

ขออ้างอิงบางส่วนในเรื่อง การฝึกความจำสำหรับลูก จากหนังสือชุด สร้างลูกให้เป็นอัจฉริยะ ตอน ฝึกลูกรักให้เป็นนักคิด
โดย ผศ.ดร.อุษณีย์ โพธิสุข

1. ฝึกให้เขาใช้ประสาทสัมผัส และรับรู้หลายๆด้าน เช่น เห็นแมว จับแมว แม่พูดแมว เด็กจะจดจำได้ง่ายขึ้น
2. ฝึกให้เขารู้จักเปรียบเทียบ ด้วยสี ขนาด จำนวน ฯลฯ
3. ฝึกการจำด้วยการให้เรียนรู้ด้วยประสบการณ์ตรงให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เช่น ลงมือทำ. การที่เด็กได้ทำมาก จะทำให้เด็กมีความมั่นใจตนเองมากขึ้นมีความอยากรู้อยากเห็นเพิ่มขึ้น
4. ให้กำลังใจเมื่อเขาแสดงออกถึงการรับรู้และความสามารถเรียนรู้อะไรได้ กำลังใจเป็นเทคนิคสำคัญมากต่อการเรียนรู้
5. ฝึกให้เด็กเรียนรู้ด้วยความสุข เด็กจะจำได้ในรูปแบบของความทรงจำระยะยาว
6.ฝึกความจำกลยุทธ์ ฝึกให้เด็กจำวิธีคิด โครงสร้างความคิด วิธีแก้ปัญหาหรือกระบวนการ เพราะจะมีประสิทธิภาพมาก ไม่ควรเน้นจำแบบท่องหมายเลขโทรศัพท์ เพราะเป็นวิธีจำแบบเก็บขยะ หรือความจำที่สูญเปล่าสิ้นเปลืองโดยใช้เหตุ


ฝึกพวกนี้อ่านแล้วไม่ง่าย แต่ก็ไม่ยากเกินพ่อแม่ทุกคนจะทำ เพียงแค่คุณไม่เล่นกับลูกแบบไม่ใช่ไอโพนไอแพด หรือสื่ออิเลคทรอนิคใดๆ หรือลดเวลาของตัวเองกับสิ่งเหล่านี้ให้น้อยลง หันมาใช้การสื่อสารแบบตรงๆกับลูก ลองพูดคุย หรือหรือร่วมเล่นในเกม หรือคิดการเล่นขึ้นมาเองดู ทุกข้อข้างบนสามารถเป็นoption เสริมเพื่อสร้างให้ลูกเราเป็นเด็กที่ฉลาดคิดและเรียนรู้ได้ง่ายค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น