วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2558

6 สาเหตุที่เล่นกับลูกแล้วไม่สนุก และวิธีแก้ไขแบบง่ายๆ

6 สาเหตุที่เล่นกับลูกแล้วไม่สนุก และวิธีแก้แบบง่ายๆเรื่องเล่าจากประสบการณ์ตรง



เคยมั้ยค่ะ อุตสาห์ซื้อของเล่นมีประโยชน์ หรือทำของเล่นเองให้ลูก หรือใช้ของเล่นเพื่อฝึกลูกอย่างเช่นเตรียมสอบสาธิต หรือเสริมทักษะที่บกพร่อง แต่ลูกไม่ยอมเล่น หรือเล่นไม่สนุก หรือบ้างครั้งทะเลาะกับแม่ไม่อยากเล่นจน ขว้างปาของเล่นหรือทำของเล่นเสีนหาย ทำเอาแม่อย่างเราเสียเงินไม่พอ ยังเสียใจที่ความหวังดีไม่เป็นผล พอนึกถึงแล้วก็คิดถึงประสบการณ์ fail ที่เจอมา รวบรวมสาเหตุ และกลยุทธในการเล่นให้สนุก ได้ประมาณนี้

1. ของเล่นมีสาระ หรือเล่นแล้วมีผลลัพธ์ออกมาอย่างเดียว หรือของเล่นเพื่อการศึกษา  ลูกเล่นแรกแล้วถ้าทำไม่ได้จะเครียดและไม่อยากเล่น หรืองานศิลปะ ต้องทำออกมาให้สวย ให้เหมือนในแบบ 
แก้โดย
- เปลี่ยนวิธีการเล่นฉีกแนว เช่น มีให้วิ่งหา flashcard ที่ซ่อนอยู่ในห้อง เจอแล้วให้พูดศัพท์ดังๆ หรือเพิ่มกติกาหรือรางวัลให้สนุกน่าลองเล่นให้จบ เช่น เล่นได้ตามที่กำหนดได้กินไอติม หรือใครชนะได้ใช้สีเพ้นท์หน้าวาดรูปอะไรก็ได้บนหน้าแม่ 
- เด็กบางคนไม่กล้าวาดรูป ระบายสีบอกกลัวทำไม่สวย อันนี้ ถ้ารู้ว่าเขาเป็นแบบนี้ ลองคุยกับเขาดูว่า วาดแบบที่คิดหรือเห็น ไม่มีถูกไม่ผิด 
- ให้ผลลัพธ์ในการเล่นเป็นแบบเปิด ทำอะไรก็ได้ ไม่ผิด แต่ต้องได้ตามข้อกำหนดอย่างน้อยสักหนึ่งอย่างที่สำคัญ เพิ่มกำลังใจให้เด็กเข้าถึงเป้าหมายง่ายๆค่ะ

2. เวลาที่เล่นไม่เหมาะ ลูกง่วงนอน หิว ไม่อยากเล่น งอแงไม่ให้ความร่วมมือ
แก้ง่ายๆ
- สังเกตชีวิตประจำวันลูก ลองเปลี่ยนเวลาเล่นให้ไม่ตรงกับตอนง่วง หรือหิว 
- สังเกตว่าทำไมลูกถึงงอแง เอาใจใส่และแก้ปัญหาที่ทำให้เขาปั่นป่วนก่อน พอลูกอารมณ์ดีแล้ว ชวนทำอะไรก็ทำตามหมดค่ะ

3. วิธีเล่นยากเกินไป หรือง่ายเกินไปกับวัยและความสามารถลูก ทำให้ลูกไม่สนใจของเล่น
แก้ง่ายๆ
- พ่อแม่ลองเล่นหรือตรวจสอบก่อนว่าเหมาะกับวัยลูกหรือไม่ ของเล่นบ้างอย่างยากและซับซ้อนเกินที่เด็กจะมีสมาธิจดจ่อเล่น ถ้ามันไม่ใช่สิ่งที่เขาชอบจริงๆ
- ต้องดูสไตล์เด็กค่ะ ถ้าเขาไม่กล้าลองอะไรใหม่ ต้องเล่นกับเขาที่ละเล็กละน้อย หรือพาเข้ากลุ่มที่เล่น เช่น เกมกีฬา ให้เขาเก็บข้อมูล ลองสัมผัสและเชิญชวน ออกแนว build อย่าบังคับให้เขาเล่น ถึงเวลาถ้าเขาอยากเล่นจะขอเอง
- สำหรับเกมที่ง่ายเกินไป ลูกเล่นแป๊บเดียวเบื่อ พ่อแม่สามารถเพิ่มความยากและท้าทายให้ได้ค่ะ จะทำให้เขาสนุกและสนใจเล่นต่อ ลองให้ลูกคิดเองก็ได้ว่าอยากเล่นยังไงค่ะ

4. ลูกเล่นแล้วป่วน เล่นมั่ว เล่นแล้วเกิดความเสียหาย ไม่ยอมช่วยเก็บ
แก้ง่ายๆ
- อธิบายกฏกติกาและข้อตกลงก่อนเล่นให้ชัดเจนว่า ถ้าเล่นไม่ถูกทาง หรือเล่นเสร็จไม่ดูแลรักษาจะมีผลอย่างไร ต้องให้เขารอฟังและตกลงกันให้เรียบร้อยก่อนเล่น 
- เมื่อเห็นลูกเริ่มออกนอกลู่นอกทาง ลองดึงความสนใจเขากลับมาที่ของเล่นแบบนุ่มนวล ไม่ตะโกนหรือดุด่า ถ้าเขาไมายอม คุยดีๆว่าลูกจะทำยังไงต่อ ลแงฟังเสียงลูกดู จะลดภาวะอารมณ์บูดได้ที่แม่และลูกค่ะ
- สำหรับเด็กเล็ก ถ้าเล่นแล้ว เสี่ยงเกิดอันตรายหรือทำร้ายผู้อื่นการบอกหยุดดังๆแรงๆ ไม่ทำให้เด็กหยุดนะคะ เขาจะเล่นต่อ และปั่นป่วน จนต้องเกิดศึกกันแน่นอนค่ะ. จะให้ลูกหยุดเล่นควร ใช้การเบี่ยงเบนความสนใจไปสิ่งอื่นแทน เนียนๆ พอเขาอารมณ์ดีๆ ให้สอนเขาว่าทำแบบไหนดี แบบไหนอันตรายค่ะ

5. ของเล่นที่เลือกมาให้ลูกไม่เหมาะกับการเล่นรวมกับของเล่นอื่นๆ หรือของเล่นที่เสียหายง่ายเกิน หรือของเล่นราคาแพงเกินไป เมื่อลูกเล่นเสียหาย ก็โดนดุโดนว่า หรือเล่นปนกับของเล่นเดิมก็โดนบ่น
แก้ง่ายๆ
- เลือกของเล่นที่เหมาะกับสไตล์ลูกเรา เอาที่ทนไม้ทนมือหน่อย ของถูกพลาสติกไม่ดีนี้เสี่ยงเป็นขยะสูงมากเพราะเล่นแล้วพังง่าย 
- ไม่ซื้อของเล่นที่มีมูลค่าสูงเกิน ถ้าคุณทนไม่ได้ที่ตุ๊กตาตัวครึ่งหมื่นจะถูกวาดหน้าและตัวด้วยเมจิคสีแดง ลูกยังไม่เข้าใจคุณค่าที่เป็นตัวเงินค่ะ ถ้าเขาอยากได้ของแพง ให้เขาเก็บตังซื้อ หรือมีภารกิจยากๆให้ทำ เพื่อให้เขารู้คุณค่าของของและอยากเก็บรักษามากขึ้น
- ถ้าคุณเลือกที่จะซื้อให้ลูกเล่น คุณต้องเคารพสิทธิในการเล่นของลูกค่ะ ของเล่นที่เอามาตั้งโชว์เฉยๆไม่เกิดประโยชน์ การเล่นmix กันเป็นการใช้ creativity ของลูกค่ะ ถ้าอยากให้เกิดความสงบในบ้าน ให้ทำข้อ 4 ไปก่อนเล่นค่ะ

6. พ่อแม่เล่นไม่สนุก ตั้งใจทำมาก ก็หวังมากว่าจะเล่นได้ ทำให้บางครั้งเกิดบรรยากาศกดดัน เหมือนบังคับให้ลูกเล่น พอลูกไม่เล่นก็บ่นหรือโกรธโมโหใส่ลูก
แก้ง่ายๆ
- ดูช่วงเวลาที่เราอารมณ์ดี ลูกอารมณ์ดีแล้วเล่นด้วยกัน บางครั้งพ่อแม่ฝืนตัวเอง พลังที่ออกมากับการเล่นจะดูอึดอัด ลองถามตัวคุณก่อนว่าพร้อมมั้ยนะคะ เล่นกับลูกแบบมีเป้าหมาย คุณต้องมีใจที่เข้มแข็งค่ะ
- คุณลองทดลองเล่นกับตัวเอง จะเข้าใจว่าจุดไหนยากง่าย พอลูกทำไม่ได้ในจุดที่ยาก เราจะสามารถเข้าถึงใจเข้าง่ายกว่า แบบพ่อเล่นแล้วมันยากจริงๆ เดี๋ยวช่วยกันมั้ย
- ลองให้ลูกนำเราเล่น เปิดใจดูว่า ถ้าเขาชอบ เขาจะสนุกและอยากเล่นต่อ เมื่ออารมณ์ดี ลองชวนมาเล่นมาลองของแม่บ้าง ผลัดกัน  แต่ถ้าเราบังคับ เขาจะทำค่ะ เพียงเพราะให้พ่อแม่ชอบและชื่นชม ลูกจะไม่เล่นของนั้นเลยด้วยตัวเอง แม้จะมีประโยชน์แค่ไหน เพราะเขาโดนบังคับให้ชอบค่ะ
- เปิดใจให้โอกาสลูกค่ะ วันนี้งอแงไม่เล่นไม่เป็นไร ความคั้งใจดีของคุณพ่อคุณแม่จะเป็นผลสักวันค่ะ ตั้งใจทำมากเป็นสิ่งดี คาดหวังได้ แต่อย่ามากเกินไปนะคะ เด็กๆต้องการเวลาค่ะ

แม่จุ๊บ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น